วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ข้อ.7**นาฬิกาแดดอย่างง่าย



วิธีการใช้..
  1.นำนาฬิการแดดไปวางณ.จุดที่แดดส่องถึงตลอดวัน
  2.ใช้ไม้หรือขวดน้ำ วางตรงจุดกาบาทสีแดง
  3.สังเกตดูเวลาบนนาฬิกาแดด และเทียบกับเวลาในนาฬิกาปัจจุบัน เพื่อสังเกตว่าถูกต้องหรือไม่??

          นาฬิกาแดดชนิดนี้ได้คิดขึ้นมาจากการทดลองหาเงาในแต่ล่ะเวลา ในหัวข้อ'ปักไม้~หาเงา'  จึงทำให้ได้นาฬิกาแดดออกมาในรูปแบบนี้ขึ้นมา

ข้อ.8**การเกิดสรุยุปราคาและจันทรุปราคา

อุปกรณ์
1.หัวหอม = โลก
              2.มะเขือเทศ = ดวงจันทร์
               3.หลอดไฟ = ดวงอาทิตย์






การสาธิตการเกิด จันทรุปราคา



จันทรุปาคา          เป็นปรากฏการณ์ ที่โลกบังแสงดวงอาทิตย์ไม่ให้ไปกระทบที่ดวงจันทร์ ในบริเวณดวงอาทิตย์ในวันเพ็ญ ( ขึ้น 15 ค่ำ ) โดยโลกอยู่ระหว่างดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์ ทำให้เงาของโลกไปบังดวงจันทร์ การเกิดจันทรุปราคา หรือเรียกอีกอย่างว่า จันทคราส คือ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในคืนวันเพ็ญ ( ขึ้น 15 ค่ำ) เมื่อดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในระนาบเส้นตรงเดียวกับโลกและดวงอาทิตย์ทำให้เงาของโลกบังดวงจันทร์คนบนซีกโลกซึ่งควรจะเห็นดวงจันทร์เต็มดวงในคืนวันเพ็ญจึงมองเห็นดวงจันทร์ในลักษณะต่างๆ เช่น “ จันทรุปราคาเต็มดวง” เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนเข้าไปในเงามืดของโลก จึงทำคนบนซีกโลกที่ควรเห็นดวงจันทร์เต็มดวง กลับเห็นดวงจันทร์ซึ่งเป็นสีเหลืองนวลค่อยๆ มืดลง กินเวลาประมาณ 1.5 ชั่วโมง จากนั้นจึงจะเห็นดวงจันทร์ เป็นสีแดงเหมือนสีอิฐเต็มดวง เพราะได้รับแสงสีแดงซึ่งเป็นคลื่นที่ยาวที่สุดและบรรยากาศโลกหักเหไปกระทบกับดวงจันทร์ ส่วน “ จันทรุปราคาบางส่วน” เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่เข้าไปในเงามือของโลกเพียงบางส่วน จึงทำให้เห็นดวงจันทร์เพ็ญบางส่วนมืดลงและบางส่วนมีสีอิฐขณะเดียวกันอาจเห็นเงาของโลกเป็นขอบโค้งอยู่บนดวงจันทร์ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ว่าโลกกลม ผลกระทบ การเกิดจันทรุปราคาไม่ค่อยส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติเพราะเป็นช่วงกลางคืน แต่คนสมัยก่อนมีความเชื่อเช่นเดียวกับการเกิดสุริยุปราคา โดยเชื่อว่า “ราหูอมจันทร์” ซึ่งจะนำความหายนะ และภัยพิบัติมาสู่โลก คนจีนและคนไทยจึงแก้เคล็ดคล้ายกันเช่น ใช้วิธส่งเสียงขับไล่ คนจีนจุดประทัด ตีกะทะ ส่วนคนไทยก็เล่นกันก็ตีกะลา เอาไม้ตำน้ำพริกไปตีต้นไม้ เอาผ้าถุงไปผูกเพื่อล้างความโชคร้ายและให้ราหูโลกอมจันทร์”

การสาธิต การเกิดสุริยุปราคา




สุริยุปราคา
          เป็นปรากฏการณ์ ตามธรรมชาติ ที่ดวงจันทร์ โลก และดวงอาทิตย์ โคจรมาอยู่ในแนวเส้นตรง ทำให้ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์ และเงาของดวงจันทร์จึงตกมาบน บริเวณ ต่างๆ บนโลก สุริยุปราคาคืออะไร สุริยุปราคาหรือเรียกอีกอย่างว่า สุริยะคราส หมายถึง ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นขณะที่ดวงจันทร์หมุนรอบโลก แล้วโคจรมาบังดวงอาทิตย์ จึงทำให้โลกไม่ได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ ช่วงขณะหนึ่ง โดยเงาของดวงจันทร์จึงตกมาบนโลก ทำให้บริเวณพื้นผิวโลกที่อยู่ใต้เงามืดของดวงจันทร์ เห็นดวงอาทิตย์มืดมิด เราเรียกว่า “สุริยุปราคาเต็มดวง” และบริเวณพื้นโลกที่อยู่ใต้เงามัวของดวงจันทร์ก็จะเห็นดวงอาทิตย์มืดเป็นดวงกลมโดยมีขอบสว่างล้อมรอบคล้ายวงแหวน เราเรียกว่า “วงแหวนสุริยุปาคา” ส่วนบางบริเวณก็เห็นดวงอาทิตย์มืดบางส่วนและสว่างบางส่วน เราเรียกว่า “สุริยุปราคาบางส่วน” สุริยุปราคาจะเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก เพราะส่วนใหญ่ดวงจันทร์มักจะโคจรในระดับที่สูงหรือต่ำกว่าแนวระดับเดียวกัน ( แนวเส้นตรงเดียวกัน ) กับโลกและดวงอาทิตย์ ดังนั้นสุริยุปราคาจะเกิดขึ้นได้เมื่อดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในแนวเส้นตรงระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ( ตรงกับแรม 14 – 15 ค่ำ )ผลกระทบ การเกิดสุริยุปราคามีผลกระทบก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เนื่องจากการที่ดวงอาทิตย์ค่อยๆ ลดแสงลงเนื่องจากดวงจันทร์บังแสงดวงอาทิตย์ ทำให้สัตว์ต่างๆพากันกลับรังเพราะนึกว่าถึงเวลากลางคืนเห็นได้ชัดก็คือ นกชนิดต่างๆ จะบินกลับรัง ส่วนคนก็พากันตื่นเต้นและเตรียมการเฝ้าดูในปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้มนุษย์มีโอกาสเห็น และได้ศึกษาการเกิดสุริยุปราคา และเกิดบริเวณใดของโลกวิธีดู เมื่อเกิดสุริยุปราคาไม่ควรดูด้วยตาเปล่า เพราะอาจทำให้ตาบอดหรือเป็นโรคตาได้ ควรใช้อุปกรณ์เป็นแผ่นฟิล์มถ่ายรูปขาวดำที่ใช้แล้ว นำมาซ้อนกัน 2 –3 แผ่น แล้วดูผ่านฟิล์มถ่ายรูป หรือใช้การมองผ่านกระจกที่รมควันให้แสงผ่านได้น้อยที่สุด

แหล่งที่มา
          http://www.radompon.com/resourcecenter/?q=node/39

ข้อ.13**แอสโตรเลบ

 
การบอกตำแหน่งวัตถุท้องฟ้า

 

          ในการที่จะศึกษาหรือทำความเข้าใจในเรื่องของดาราศาสตร์นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากดวงดาวทั้งหลายรวมทั้งวัตถุท้องฟ้าอื่นๆ นั้นอยู่ไกลแสนไกล การบอกตำแหน่งของดวงดาวเหล่านั้นจึงไม่ใช่เรื่องง่าย แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องมีการหาวิธีที่จะสื่อสารกันว่ากำลังกล่าวถึงดวงดาวใด ดังนั้นขั้นแรกต้องสร้างจินตนาการก่อนว่ามีท้องฟ้าเป็นรูปครึ่งทรงกลมครอบเราอยู่ โดยมีเรายืนอยู่ที่จุดศูนย์กลางของครึ่งวงกลม เมื่อสมมติว่ามีท้องฟ้าแล้วจึงกำหนดต่อไปว่าดวงดาวหรือวัตถุท้องฟ้าที่ต้องการจะศึกษาอยู่ที่ใดบนท้องฟ้า

          ในการบอกตำแหน่งของวัตถุใด ต้องบอกค่าอย่างน้อย 2 ค่า เช่น การบอกตำแหน่งบนโลก ต้องบอกค่าละติจูดและลองจิจูด เช่นเดียวกับการบอกตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้า ต้องบอกด้วยค่าอย่างน้อย 2 ค่า วิธีที่ง่ายคือ ใช้ระบบเส้นขอบฟ้า และเป็นการบอกตำแหน่งที่สัมพันธ์กับเวลา คือ เวลาเปลี่ยนไปตำแหน่งของวัตถุก็จะเปลี่ยนไป ในระบบนี้จะบอกตำแหน่งวัตถุด้วยค่า 2 ค่า คือ มุมทิศ (Azimuth) และมุมเงย (Altitude) เราสามารถวัดมุมทิศและมุมเงยได้ดังนี้

การวัดมุมทิศ


          มุมทิศเป็นมุมที่บอกทิศ โดยเริ่มวัดจากจุดทิศเหนือไปตามเส้นขอบฟ้าทางตะวันออก จนกระทั่งกลับมาที่จุดทิศเหนือ


การวัดมุมเงย


          มุมเงยเป็นมุมที่วัดจากเส้นขอบฟ้าขึ้นไปตามเส้นวงกลมดิ่งจนถึงจุดเหนือศีรษะ
เพื่อความสะดวกในการวัดค่ามุมทิศและมุมเงยจึงได้มีการประดิษฐ์อุปกรณ์เพื่อใช้วัดค่ามุมทั้งสอง อุปกรณ์ชนิดนี้ เราเรียกว่า แอสโทรเลบ (Astrolabe)


          การที่จะสามารถบอกหรือวัดตำแหน่งของดวงดาวหรือวัตถุท้องฟ้าได้อย่างค่อนข้างแม่นยำนั้น สิ่งที่สำคัญคือจะตัองรู้ทิศเหนือที่ถูกต้อง คือ ทิศที่ชี้ไปยังขั้วโลกเหนือเพราะการวัดมุมทิศ เราเริ่มวัดจากทิศเหนือไปตามเส้นขอบฟ้า และอีกประการหนึ่งคือ ต้องหมั่นสังเกตดวงดาวหรือวัตถุท้องฟ้าจริงก็จะเพิ่มความชำนาญและ สร้างความมั่นใจในการ บอกตำแหน่งและสังเกตกลุ่มดาวต่อไปได้


                                                                      อุปกรณ์ในการสร้างแอสโตรเลบอย่างง่าย
                                                          1.หลอดดูดกาแฟ
                                                          2.ไม้โปรเจคเตอร์ ครึ่งวงกลม
                                                          3.ไม่เสียบลูกชิ้น
                                                          4.เข็มหมุด , กิ๊ฟดำ
                                                          5.ลังกระดาษ



แหล่งที่มา

ข้อ.21***สังเกตดาว


การเคลื่อนที่ของโลกรอบดวงอาทิตย์       ขณะที่โลกหมุนรอบตัวเอง โลกก็เคลื่อนหรือโคจรรอบดวงอาทิตย์ไปด้วย การเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบใช้เวลา 1 ปี โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยความเร็วที่สูงกว่าจรวด ซึ่งส่งดาวเทียมออกไปนอกโลก ดังนั้นจึงอาจจะเปรียบเทียบได้ว่าโลกเป็นยานอวกาศลำใหญ่ที่โคจรอยู่ในอวกาศ รอบดวงอาทิตย์

       เมื่อโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์จะเกิด "ระนาบทางโคจรของโลก”ซึ่งหมายถึงพื้นราบที่มีดวงอาทิตย์และโลกอยู่บนพื้นราบเดียวกัน พื้นราบอาจแผ่ออกไปไกลถึงฟ้า เส้นโค้งซึ่งเกิดจากระนาบทางโคจรของโลกไปตัดท้องฟ้าเรียกว่า สุริยวิถี หรือ เส้นอิคลิปติก
แกนที่โลกหมุนรอบซึ่งผ่านขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ไม่ตั้งฉากกับระนาบทาง โคจร แต่เอียงจากแนวตั้งฉากเป็นมุมประมาณ 23.5 องศา การเอียงของแกนโลกเช่นนี้จะทำให้ขั้วโลกเหนือหันเข้าหาดวงอาทิตย์ในเดือน มิถุนายน และหันออกจากดวงอาทิตย์ในเดือนธันวาคม

ผลสะท้อนที่เกิดจากการโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกในลักษณะแกนเอียง
       1. เกิดฤดูกาลต่าง ๆ ในซีกโลกเหนือ เดือนมิถุนายน เป็นฤดูร้อน เดือนกันยายน เป็นฤดูใบไม้ร่วง เดือนธันวาคม เป็นฤดูหนาว เดือนมีนาคม เป็นฤดูใบไม้ผลิ

       2. กลางวัน กลางคืนยาวไม่เท่ากันตลอดทั้งปี ในซีกโลกเหนือ เดือนมิถุนายน กลางวันยาวกว่ากลางคืน เดือนกันยายน กลางวันเท่ากับกลางคืน เดือนธันวาคม กลางวันสั้นกว่ากลางคืน เดือนมีนาคม กลางวันเท่ากับกลางคืน

       3. ดวงอาทิตย์ปรากฏเคลื่อนที่จากตะวันตกไปตะวันออกในหมู่ดาวจักรราศี

       4. ดาวประจำที่จะขึ้นเร็วกว่าวันก่อนวันละประมาณ 4 นาที
แหล่งที่มา
      
        http://learn.pbi.ac.th/html/science2-8.htm

 




ข้อ.18**ดาวปู..ดาวสารถี




Cancri
        กลุ่มดาวปู หรือ กลุ่มดาวกรกฎ (♋) เป็นกลุ่มดาวหนึ่งในกลุ่มดาวจักรราศี มีขนาดเล็กและไม่สว่าง อยู่ระหว่างกลุ่มดาวคนคู่ทางทิศตะวันตก และกลุ่มดาวสิงโตทางทิศตะวันออก ทางเหนือคือกลุ่มดาวแมวป่า ทางใต้ คือ กลุ่มดาวหมาเล็กและกลุ่มดาวงูไฮดรา

Aurigae 
        กลุ่มดาวสารถี เป็นกลุ่มดาวทางซีกฟ้าเหนือที่มีทางช้างเผือกพาดผ่าน เป็นหนึ่งในกลุ่มดาว 48 กลุ่มที่อยู่ในรายการของทอเลมี และยังเป็นกลุ่มดาวในรายการกลุ่มดาว 88 กลุ่มที่รับรองโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุด คือ ดาวคะเพลลา เกี่ยวข้องกับแพะเพศเมีย ชื่อ อมาลเทีย เรียกดาว 3 ดวง คือ เอปไซลอนสารถี ซีตาสารถี และอีตาสารถี ว่า Haedi (ลูกแพะ)มีดาวที่ใช้ร่วมกับกลุ่มดาววัว1ดวง คือ เอลแน็ท (เบต้า ทอรี่)โชติมาตรปรากฏ 1.62

แหล่งที่มา
       http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%9B%E0%B8%B9

ข้อ.20***ดาวที่สนใจ

  
    กลุ่มดาวหมีกิ่ง, ลิตเติ้ลแบร์, จะมองเห็นได้ในซีกโลกเหนือตลอดทั้งปี กลุ่มดาวนี้มีชื่อเสียงในกลุ่มของดาวที่เรียกว่าลิตเติ้ลดาวไถและสำหรับ Polaris, North Star ซึ่งตั้งอยู่ที่ปลายขันของจับ Polaris เรียกว่า North Star เพราะเป็นดาวที่ใกล้กับขั้วโลกเหนือฟ้า ซึ่งหมายความว่าเป็นโลกหมุน, Polaris ดูเหมือนจะยังคงหยุดนิ่งในท้องฟ้าในขณะที่ทั้งหมดของดวงดาวอื่น ๆ หมุนอยู่รอบ ๆ Polaris สามารถอยู่ได้โดยการค้นหาสองดาวในขอบของถ้วยในบิ๊กดาวไถและต่อไปนี้ออกข้างนอกเส้นสมมุติ, ออกไปจากถ้วย ดาวสดใสต่อไปที่คุณพบจะถูก Polaris เพราะโลก wobbles เล็กน้อยเป็นมันจะหมุนแกนของตัวเอง, Polaris จะไม่ถูก North Star 14,000 ปีในเกี่ยวกับขั้วฟ้าเหนือจะชี้ออกไปจาก Polaris และต่อ Vega กระบวนการนี้เป็นที่รู้จักกันเป็นขบวน กลุ่มดาวมีเพียงไม่กี่ดาวและไม่มีวัตถุ Messier
 
 Points of Interest in Ursa Minor
ObjectNameType/TranslationV Mag
1Polaris"Pole Star"2.02
2Kocab"Star"2.08
3Pherkad"Calf"3.05
4Yildun"Star"4.36
5Pherkad Minor*5.02


 แหล่งที่มา
        http://www.seasky.org/constellations/constellations-june.html

วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ข้อ.11**รายงานการเข้าชมหอดูดาว

ดิฉันและเพื่อนๆ อีก 3คน ได้มีโอกาศเข้าค่าย ผู้นำเยาว์ชนด้านดาราศาสตร์ ครั้งที่ 7 ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และดิฉันและพวกเื่พื่อนๆ ก็ได้มีโอกาศขึ้นไปดูดาวบนหอดูดาวสิรินธร ภายในหอดูดาวได้ถูกจัดแบ่งสัดส่วนอย่างลงตัว โดยที่ดิฉันและเพื่อนๆ เดินชมนิทรรศการต่างๆ ภายในหอดูดาว ซึ่งมีการจัดไว้อย่างสวยงาม นอกจากนั้นดิฉันและเพื่อนๆ ก็ยังได้ทดลองใช้กล้องดูดาวของจริง ซึ่งใช้ดูดาวพฤหัสบีดี (Jubiter)
และดดิฉันได้สังเกตุเห็นดวงจันทร์ ซึ่งเป็นบริวารของดาวพฤหัสบดี ถึง 4 ดวงด้วยกัน หลังจากเสร็จสิ้นภาระกิจ ดูดาวต่างๆแล้ว ดิฉันและเพื่อนๆก็ได้แยกย้ายกัน พักผ่อน ในสถานที่ ที่ทางพี่มช. ได้เตรียมไว้ให้ พอรุ่งเช้าก็ได้ถ่ายรูปร่วมกัน และเดินทางกลับมาที่ มช.