วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ข้อ.6* ข่าวดาราศาสตร์

1.กล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ค้นพบดาวฤกษ์ที่มีดาวเคราะห์เป็นบริวารถึงหกดวง

กล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ค้นพบดาวฤกษ์ที่มีดาวเคราะห์เป็นบริวารถึงหกดวง

        นักวิทยาศาสตร์ของนาซาได้ค้นพบระบบดาวเคราะห์ใหม่ที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก เคปเลอร์– 11(Kepler-11 ตั้งตามลำดับระบบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่ถูกค้นพบโดยกล้องอวกาศเคปเลอร์) คือชื่อของดาวฤกษ์ ที่คล้ายกับดวงอาทิตย์และได้รับการยืนยันแล้วว่ามีดาวเคราะห์โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงเดียวกันถึงหกดวง     ซึ่งถูกค้นพบโดยทีมนักวิทยาศาสตร์ของนาซาที่ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์(Kepler space telescope) ในการสำรวจท้องฟ้าบริเวณกลุ่มดาวหงษ์และกลุ่มดาวพิณ โดยดาวเคราะห์แต่ละดวงในระบบนี้จะตั้งตามชื่อของดาวฤกษ์คือเคปเลอร์-11แล้วตามด้วยอักษรภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ b ถึง g เรียงลำดับตามระยะห่างจากดาวฤกษ์จากน้อยไปหามาก


ภาพที่ 1  บนท้องฟ้าบริเวณกลุ่มดาวหงส์ เป็นพื้นที่ สำรวจของกล้องโทรทรรศน์เคปเลอร์ ด้วย ระยะทางจากโลก 613 พาร์เซก ดาวฤกษ์เคป เลอร์-11
และดาวเคราะห์อีกหกดวงกำลังอยู่ใน ความสนใจของนักวิทยาศาสตร์ (ภาพจาก NASA / Tim Pyle)

        แจ็ค ลิสซาวเออร์ (Jack Lissauer)  นักดาราศาสตร์ด้านดาวเคราะห์และหนึ่งในทีมที่ปฏิบัติงานกับกล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ แห่งนาซา (NASA’s Ames Research Center) ได้กล่าวถึงระบบดาวเคราะห์ใหม่นี้ในการแถลงข่าวเมื่อวันที่   2 กุมพาพันธ์ 2554 ที่ผ่านมาว่า “เคปเลอร์-11 เป็นระบบดาวเคราะห์ที่น่าประหลาดใจเป็นอย่างยิ่ง มันทั้งบีบอัดและแบนราบอย่างน่าทึ่ง ”  ดาวเคราะห์ในระบบนี้ส่วนใหญ่มีขนาดพอๆกับ ดาวเนปจูนหรือ ยูเรนัส แต่กลับโคจรใกล้กับดาวฤกษ์มาก เมื่อเทียบกับระบบสุริยะแล้ววงโคจรของดาวเคราะห์นอกสุด (เคปเลอร์-11จี) ห่างจากดาวฤกษ์ของมันเป็นระยะทางน้อยกว่าระยะทางจากดวงอาทิตย์ถึงดาวศุกร์ และวงโคจรของดาวเคราะห์แต่ละดวงเอียงทำมุมกับระนาบการหมุนของดาวฤกษ์น้อยมาก เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของความเอียงของวงโคจรของดาวเคราะห์ทุกในระบบสุริยะดวงคือ 2.3 องศา แต่ค่าเฉลี่ยเดียวกันนี้ของดาวเคราะห์ในเคปเลอร์-11มีประมาณ 1 องศา ซึ่งหมายความว่าดาวเคราะห์ในระบบนี้แทบจะโคจรในระนาบเดียวกันทำให้ระบบดาวเคราะห์นี้แบนราบเหมือนแผ่นคอมแพ็คดีส

ภาพที่ 2  ภาพเปรียบเทียบขนาดขนาดของระบบดาว เคราะห์ของเคปเลอร์-11 กับวงโคจรของดาว พุธและดาวศุกร์  (ภาพจาก NASA / Tim  Pyle)

ภาพที่ 3  ด้านบน เปรียบเทียบขนาดของดาวเคราะห์แต่ละดวงในระบบดาวเคราะห์ของเคปเลอร์-11
(ในภาพเพื่อให้ มองเห็นขนาดของดาวเคราะห์แต่ละดวง ขนาดที่เห็นเกิดจากขนาดจริงคูณด้วย 50 โดยดาวฤกษ์เคปเลอร์-11 สี เหลืองใช้สัดส่วนเดิม
ด้านล่าง ภาพเปรียบเทียบขนาดและระยะทางจากดาวฤกษ์เคปเลอร์-11 ของดาวเคราะห์ เทียบกับดาวเคราะห์วงในของระบบสุริยะ (ภาพจาก wikipedia.org)

ตารางที่ 1 แสดงคุณสมบัติของดาวเคราะห์แต่ละดวงในระบบดาวเคราะห์ของเคปเลอร์-11 ซึ่งนักวิทยาศาสตร์สามารถ
ประมาณการได้จากข้อมูลที่ได้จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์(ภาพจาก wikipedia.org)

        ดาวเคราะห์ตั้งแต่ เคปเลอร์-11บี ถึง เคปเลอร์-11เอฟ มีคาบการโคจรรอบดาวฤกษ์ของมันอยู่ในช่วง 10 ถึง 47 วัน ส่วนเคปเลอร์-11จี  ซึ่งอยู่ห่างมากที่สุดมีคาบการโคจร  118 วัน ซึ่งถือว่าเร็วมากเมื่อเทียบกับดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ(ดาวศุกร์มีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 226 วัน) จากการวัดมวลและขนาดของดาวเคราะห์ในระบบนี้ทั้งหมด เราสามารถพูดได้ว่านี่คือระบบดาวเคราะห์ที่มีขนาดเล็กที่สุดตั้งแต่มีการยืนยันการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะเป็นต้นมา ลิสซาวเออร์ยังได้กล่าวถึงองค์ประกอบของดาวเคราะห์ในระบบเคปเลอร์-11 ว่าดาวเคราะห์แต่ละดวงมีองค์ประกอบทั้งของแข็งและก๊าซ โดยมวลส่วนใหญ่มาจากส่วนที่เป็นของแข็ง และขนาดของมันมาจากส่วนที่เป็นก๊าซนอกจากนี้โครงสร้างและการเคลื่อนที่ยังมีนัยที่บ่งบอกถึงรูปแบบการก่อตัวของดาวเคราะห์แต่ละดวงด้วย โดยที่ที่ เคปเลอร์-11d ,eและ f มีองค์ประกอบเป็นก๊าซเบา ซึ้งชี้ให้เห็นว่าดาวเคราะห์ทั้งสามดวงก่อตัวขึ้นในช่วงเวลาสองถึงสามล้านปีแรกของก่อตัวของระบบดาวเคราะห์นี้
        ระบบดาวเคราะห์เกิดขึ้นเมื่อ กลุ่มก๊าซรวมตัวกันและยุบตัวเป็นดาวฤกษ์ ซึ่งในช่วงเวลานี้ กลุ่มก๊าซที่เหลือรอบๆดาวฤกษ์จะเริ่มก่อตัวเป็นดาวเคราะห์ เรียกว่า โปรโตแพลเนทารีดีช (Protoplanetary dish) ซึ่งสามารถตรวจพบได้ในช่วงไม่กี่ล้านปีหลังจากการเกิดดาวฤกษ์ นักวิทยาศาสตร์สันนิฐานว่าส่วนประกอบที่เป็นก๊าซของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะได้รับมาจาก โปรโตแพลเนทารีดีช ก่อนที่จะหายไปเมื่ออายุของระบบดาวเคราะห์เพิ่มมากขึ้น
        นักดาราศาสตร์ศึกษาขนาดของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะได้จาก การวัดปริมาณแสงของดาวฤกษ์ที่ลดลงเล็กน้อยเมื่อดาวเคราะห์ซึ่งเป็นบริวารเคลื่อนที่ผ่านหน้า ส่วนอุณหภูมินั้นนักวิทยาศาสตร์อาศัยการประมาณการจากระยะห่างของวงโคจรของดาวเคราะห์ แต่ละดวง ข้อมูลการเคลื่อนที่ผ่านหน้าดาวฤกษ์ ของดาวเคราะห์จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์และเทคนิคอื่นๆในการศึกษาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถคำนวณหา ขนาด, คาบการโคจร ,มวล ได้แม่นยำมากขึ้น และในอนาคตอาจทำให้ค้นพบดาวเคราะห์ซึ่งจะเป็นดวงที่เจ็ดในระบบดาวเคราะห์เคปเลอร์-11 ก็เป็นได้
        ทีมนักดาราศาสตร์ของกล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ยังอาศัยข้อมูล จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศอื่นเช่น สปิทเซอร์และกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่บนพื้นโลก ซึ่งข้อมูลจากหลายแหล่งจะช่วยในการยืนยันการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ ตามภารกิจในการหาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่มีขนาดใกล้โลก และอยู่ในวงโคจรที่เหมาะสมและเอื้อต่อการให้กำเนิดสิ่งมีชีวิตโดยจะปฏิบัติงานจนเดือนพฤศจิกายนปี ค.ศ.2012

เรียบเรียงโดย สิทธิพร  เดือนตะคุ

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
    1. 
www.nasa.gov, NASA's Kepler Spacecraft Discovers Extraordinary New Planetary  System
     2. 
www.wikipedia.org,Kepler-11

แหล่งข้อมูลเพื่อค้นคว้าเพิ่มเติม
   1. “ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ” เอกสารเผยแพร่ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) เรียบเรียงโดยกรกมล ศรีบุญเรือง
     2. "Kepler Discoveries". NASA Ames Research Center.
    3. Lissauer, J. J.; et al. (3 February 2011). "A closely packed system of low-mass, low-density planets transiting Kepler-11". Nature 470: 53–58.doi:10.1038/nature09760



2.ค้นพบดาวเคราะห์ดวงใหม่ Kepler-10b

ค้นพบดาวเคราะห์ดวงใหม่ Kepler-10b

        ดาวเคราะห์นอกระบบดวงนี้มีขนาดเล็กที่สุดเท่าที่เคยค้นพบ ซึ่งโคจรรอบดาวฤกษ์อายุน้อย(8 ล้านปี) อยู่ในกลุ่มดาวมังกร(Draco) มีแมกนิจูด 11 และแผ่รังสีความร้อนได้ใกล้เคียงกับดวงอาทิตย์ 
 

ภาพจำลอง ดาวเคราะห์ “Kepler-10b”


        จากการศึกษาตั้งแต่ เดือนพฤษภาคม 2552 ถึง เดือนมกราคม 2553 นักดาราศาสตร์คำนวณระยะห่างด้วยวิธีการวัดแบบผ่านหน้าดาวฤกษ์(Transit) โดยหาเวลาที่ดาวเคราะห์เคลื่อนที่ผ่านอย่างต่อเนื่อง  สัดส่วนขนาดของดาวเคราะห์วัดจากปริมาณแสงดาวฤกษ์ที่ลดลงขณะที่ดาวเคราะห์เคลื่อนที่ผ่านได้เช่นกัน พบว่าขนาดใกล้เคียงกับโลกมาก ประมาณ 1.4 เท่าของโลก   สัดส่วนมวลและคาบการโคจร ต้องใช้การวัดสเปกตรัมที่เปลี่ยนแปลงระหว่างดาวเคราะห์โคจรรอบดาวฤกษ์ด้วยกล้องโทรทรรศน์ Keck ที่เกาะฮาวาย   จึงได้สัดส่วนมวล 4.6 เท่าของโลกและระยะทางที่อยู่ใกล้กว่าดาวพุธ 20 เท่า ทำให้อุณภูมิในเวลากลางวันของดาวเคราะห์ดวงนี้สูงถึง 1,371 องศาเซลเซียส เพราะฉะนั้นจึงไม่น่าจะมีสิ่งมีชีวิตชนิดไหนที่ดำรงอยู่ได้   ข้อมูลเหล่านี้มีความแม่นยำถึง 2-6 % ดังตาราง
 

ตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติระหว่างโลกกับดาวเคราะห์ Kepler-10b
ชื่อดาวเคราะห์
Kepler-10b
Earth
มวล
(กิโลกรัม)
2.7478×1025 
5.9736×1024 
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง
(กิโลเมตร)
17,858
12,756
ความหนาแน่น                   (กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร)
8.8
5.5
คาบวงโคจร
(ชั่วโมง)
20
8,760
ระยะห่างจากดาวฤกษ์
(กิโลเมตร)
2.9×106 
1.5×108 
อุณหภูมิ
(เซลเซียส)
1,371
40
        องค์ประกอบธาตุในดาวเคราะห์ดวงนี้ส่วนใหญ่เป็นโลหะหนัก เมื่อเทียบกับความหนาแน่นที่คำนวณได้ และอยู่ในช่วงการก่อตัว ซึ่งยังมีสสารที่หลงเหลืออยู่รอบๆดาวฤกษ์ ไม่มีบรรยากาศปกคลุม สิ่งที่น่าสนใจคือในอนาคตอาจจะพบดาวเคราะห์ที่อยู่ไกลถัดจาก Kepler-10b เพียงพอสำหรับสิ่งมีชีวิตจะดำรงอยู่ก็เป็นได้ ดูวีดีโอข้อมูลดาวเคาระห์

เรียบเรียงโดย นายวทัญญู  แพทย์วงษ์
สำนักบริการวิชาการและสื่อสารทางดาราศาสตร์
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน)


 3.ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง 21 ธันวาคม 2553

ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง 21 ธันวาคม 2553 (ไม่เห็นในประเทศไทย)
ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง
(ถ่ายโดย F.Espenak ที่มา: 
http://www.mreclipse.com/LEdata/TLE2010Dec21/TLE2010Dec21.html)

       ในเดือนธันวาคม 2553 นี้ นอกจากปรากฏการณ์ฝนดาวตกเจมินิดส์ ช่วง 13-14 ธันวาคม ที่ผ่านมา โลกของเรายังต้องเจออีกหนึ่งปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ นั่นคือปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงซึ่งเป็นอุปราคาสุดท้ายของปี 2553 ก่อนส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2554
       จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งนี้จะเกิดขึ้นในวันอังคารที่ 21 ธันวาคม 2553 ตามเวลาในประเทศไทย เป็นชุดซารอสที่ 125 (saros 125) แต่ปรากฏการณ์ครั้งนี้ไม่สามารถมองเห็นได้ในประเทศไทย เนื่องจากช่วงที่เกิดเหตุการณ์ดวงจันทร์อยู่ที่ฝั่งทวีปอเมริกาดังแผนที่แสดง (ความจริงประเทศไทยเห็นได้เฉพาะช่วงเงามัว U4-P4 ยกเว้นทางภาคใต้ และเงามัวสังเกตเห็นได้ยากเนื่องจากแสงลดลงน้อยมากเมื่อเทียบกับช่วงดวงจันทร์วันเพ็ญ) โดยช่วงที่เกิดจันทรุปราคาเต็มดวงกินเวลานานประมาณ 3 ชั่วโมง 28 นาที (ไม่รวมช่วงที่ดวงจันทร์อยู่ในเงามัว เนื่องจากไม่สามารถสังเกตเห็นความแตกต่าง)
 
แผนที่โลกแสดงบริเวณที่มองเห็นปรากฏการณ์ (พื้นที่สว่าง) และบริเวณที่มองไม่เห็น (พื้นที่ทึบแสง)
(ที่มา: 
http://www.mreclipse.com/LEdata/TLE2010Dec21/TLE2010Dec21.html)

ตารางแสดงเวลาที่เกิดจันทรุปราคาเต็มดวง 21 ธันวาคม 2553
เหตุการณ์
เวลาในประเทศไทย (น.) กรุงเทพ
เริ่มสัมผัสเงามัว (P1)
12:29
เริ่มสัมผัสเงามืด (U1)
13:32
เริ่มจันทรุปราคาเต็มดวง (U2)
14:41
กลางคลาส
15:17
สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง (U3)
15:53
สิ้นสุดเงามืด (U4)
17:01
สิ้นสุดเงามัว (P4)
18:04


แผนภาพแสดงลำดับเหตุการณ์ ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง 21 ธันวาคม 2553

        เส้นทางบนพื้นโลกที่สามารถมองเห็นปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงได้แก่ ฝั่งทวีปอเมริกา โดยเฉพาะอเมริกาเหนือ กรีนแลนด์และไอซ์แลนด์สามารถเห็นได้ครบทุกเหตุการณ์ ขณะที่ยุโรปตะวันตกและตะวันออกของอเมริกาใต้จะมองเห็นช่วงเริ่มต้นของปรากฏการณ์ก่อนดวงจันทร์จะตกลับขอบฟ้าไป ส่วนเอเชียตะวันตกจะมองเห็นเหตุการณ์ช่วงสุดท้ายหลังจากดวงจันทร์ขึ้นจากขอบฟ้าแล้ว ในช่วงเวลาที่เกิดจันทรุปราคาเต็มดวง ดวงจันทร์จะปรากฏสีส้มอ่อนๆแล้วค่อยๆเปลี่ยนไปเป็นสีแดงเลือด สีน้ำตาลเข้มและสีเทาเข้ม
 
ภาพเคลื่อนไหวแสดงลำดับเหตุการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง
(ที่มา: F. Espenak)

        ในการสังเกตการณ์จันทรุปราคา เราสามารถชมได้ด้วยตาเปล่าโดยไม่ต้องอาศัยแผ่นกรองแสงเหมือนในกรณีสุริยุปราคา และอาจไม่จำเป็นต้องใช้กล้องโทรทรรศน์แต่อาจจะใช้กล้องส่องทางไกลหรือกล้องสองตาแทน แม้ปรากฏการณ์ครั้งนี้ประเทศไทยจะไม่สามารถมองเห็นได้ แต่ในวันที่ 10 ธันวาคม 2554 ปีหน้า จะมีปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงเกิดขึ้นอีกครั้งโดยประเทศไทยจะมองเห็นได้ครบทุกลำดับเหตุการณ์ ผู้สนใจสามารถติดตามข่าวสารดาราศาสตร์ได้ทาง www.narit.or.th


รายงานข่าวโดย
   กลุ่มวิจัยและพัฒนา
   สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)


 4.พบโลกใบใหม่

          ทีมล่าดาวเคราะห์ของมหาวิทยาลัย California Santa Cruz และสถาบัน Carnegie Washington ได้ประกาศการค้นพบดาวเคราะห์ที่มีมวลเป็นเท่าของโลก โคจรใกล้ดาวฤกษ์ในเขตที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้ (Habitable Zone)  งานวิจัยนี้สนับสนุนโดย NASA และ NSF เมื่อ 11ปีก่อน นักดาราศาสตร์ใช้กล้องโทรทรรศน์เคก สำรวจดาวฤกษ์กลีส 581 (Gliese 581) ในกลุ่มดาวคันชั่ง โดยใช้สเปกโทรมิเตอร์ HIRES วัดความเร็วในแนวเล็งของดาวฤกษ์ ได้พบการเปลี่ยนแปลงความเร็วเป็นระยะๆเนื่องจากแรงโน้มถ่วงจากดาวเคราะห์ที่โคจรรอบๆดาวฤกษ์   นักดาราศาสตร์ใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการวิเคราะห์ตรวจสอบและกำหนดวงโคจรดาวเคราะห์และมวลของดาวเคราะห์

         ดาวเคราะห์ดวงนี้ชื่อกลีส 581g (Gliese 581g) เป็นบริวาร ใน ดวงที่โคจรรอบดาวฤกษ์ของดาวฤกษ์ที่ชื่อกลีส 581 (Gliese 581) ซึ่งเป็นดาวแคระแดงอยู่ในกลุ่มดาวคันชั่งห่างจากโลกประมาณ 20 ปีแสง ดาว Gliese 581 มีขนาด 1/3 ของดวงอาทิตย์ พลังงานเป็น 1.3% ของดวงอาทิตย์ ความสว่างปรากฏ 10.6 

 
รูปแสดงการเปรียบเทียบระหว่างระบบสุริยะกับระบบดาวกลีส 581(Gliese 581)
          องค์ประกอบของดาวเคราะห์กลีส 581g (Gliese 581g) โดยส่วนใหญ่น่าจะเป็นหินและเหล็ก โคจรรอบดาวฤกษ์แม่ 36.6 วัน มีมวลระหว่าง 3.1-4.3 เท่าของโลก  มีแรงโน้มถ่วงประมาณ 1.5-2 เท่าของโลก ที่ละติจูดสูงๆมีการส่งผ่านความร้อนอย่างมาก ทำให้พื้นผิวดาวจะมีความเร็วลมตั้งแต่ 0 ถึง 74 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หากบรรยากาศไม่หนาเกินไป สันนิษฐานว่าดาวเคราะห์มีสภาพแวดล้อมที่เกิดภาวะเรือนกระจกไม่ต่างไปจากโลกมากนัก (อุณหภูมิพื้นผิวอยู่ระหว่าง 0-40 องศาเซลเซียส)  สตีเวน วอท แห่งหอดูดาวลิก (Steven Vogt) กล่าวว่า “สิ่งที่เกิดขึ้นใหม่อยู่ในรูปแบบสิ่งมีชีวิตที่หลากหลายกับสภาพอากาศที่แน่นอนและจะวิวัฒนาการตามเส้นแวงของพวกเขา”
รูปจำลองดาวเคราะห์กลีส 581g (Gliese 581g)

คำว่า “เขตที่สิ่งมีชีวิตอยู่อาศัยได้” (Habitable Zone) ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง แต่ส่วนสำคัญคือน้ำและบรรยากาศที่สิ่งมีชีวิตต้องใช้ในการดำรงชีพ  บริเวณดังกล่าวคือพื้นที่ๆน้ำสามารถอยู่บนพื้นผิวดาวได้ ถ้าได้รับการยืนยันก็จะเป็นดาวเคราะห์ดวงแรกที่มีลักษณะใกล้เคียงโลกมากที่สุดที่เคยค้นพบมา
เรียบเรียง : วทัญญู  แพทย์วงษ์
          สำนักบริการวิชาการและสื่อสารทางดาราศาสตร์


5.ปิดฉาก แอตแลนติส

458485main_vab_full-crop.jpg
รูปกระสวยอวกาศแอตแลนติสขณะลงจอด ถ่ายเมื่อ 26 พฤษภาคม 2553
(ที่มา: http://www.nasa.gov/mission_pages/shuttle/multimedia/index.html)
            เวลา 19:48 น. ตามเวลาในประเทศไทย กระสวยอวกาศแอตแลนติส (space shuttle Atlantis) พร้อมด้วยนักบินอวกาศอีก 6 คน ได้เดินทางกลับถึงโลกและลงจอดอย่างปลอดภัย ณ Kennedy Space Center ของนาซ่า รัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันพุธที่ 26 พฤษภาคม 2553 ที่ผ่านมา หลังจากภารกิจครั้งนี้ได้เสร็จสิ้นลง ก็ได้ปิดฉากการปฏิบัติงานของยานแอตแลนติสด้วย
491d58222cfbf.jpg
รูปสถานีอวกาศนานาชาติ
(ที่มา: http://www.flightglobal.com/)
            ภารกิจ STS-132 ของยานแอตแลนติสครั้งนี้เป็นการเดินทางครั้งที่ 32 และยังเป็นยานลำดับที่ 34 ที่ไปเยือนสถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station) โดยครั้งนี้ได้นำโมดุลใหม่ (the Russian-built Mini Research Module-1: Russian MRM-1) ที่มีชื่อว่า Rassvet ไปติดตั้งยังสถานีดังกล่าว ซึ่งโมดุลใหม่นี้จะประกอบด้วยห้องทดลองทางเทคโนโลยีชีวภาพ ชีววิทยา ฟิสิกส์ของไหลและการศึกษาเชิงวิจัย
800px-sts-132_atlantis_at_iss_1.jpg 
รูปกระสวยอวกาศแอตแลนติสขณะเตรียมติดตั้งโมดุลเข้ากับสถานีอวกาศนานาชาติ
(ที่มา: http://en.wikipedia.org/wiki/Space_Shuttle_Atlantis)
 800px-sts-132_mrm1_astrotech_march1.jpg
รูปแสดงโมดุล Russian MRM-1
(ที่มา: http://en.wikipedia.org/wiki/STS-132)
            หลังจากที่กระสวยอวกาศแอตแลนติส (space shuttle Atlantis) ได้ปฏิบัติภารกิจมานานถึง 25 ปีด้วยระยะทางสะสมกว่า 120 ล้านไมล์ ได้บินทะยานขึ้นสู่อวกาศครั้งแรกเมื่อ วันที่ 3 ตุลาคม 2528 ในภารกิจ 51-J และภารกิจสำคัญที่ผ่านมาเป็นดังตารางข้อมูลข้างล่างนี้
ภารกิจที่
วันที่เริ่มปฏิบัติการ
การปฏิบัติงาน
STS-30
พฤษภาคม 2532
ส่ง Magellan probe ศึกษาดาวศุกร์
STS-34
ตุลาคม 2532
ส่ง Galileo interplanetary probe ศึกษาดาวพฤหัสบดี
STS-71
มิถุนายน 2538
เทียบท่าสถานีอวกาศเมียร์ (Mir Space Station)
STS-125
พฤษภาคม 2552
ขึ้นไปซ่อมแซมกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล
หมายเหตุ : รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Space_Shuttle_Atlantis
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
เรียบเรียงโดย
ทวิจรัส สาโรชสกุลชัย
สำนักบริการวิชาการและสื่อสารทางดาราศาสตร์
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น