วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ข้อ.3* ศัพท์ดาราสตร์

1.C Star (Carbon Star) มี spectral Type C  เป็นดาวยักษ์แดงเย็นเฉียบ ผิวของดาวมีองค์ประกอบของคาร์บอน
เป็นโมเลกุลพื้นฐาน เช่น คาร์บอนมอนน๊อคไซด์ (CO)  ไซยาโนเจน (CN) และโมเลกุลของคาร์บอน (C2)  
ดาวฤกษ์มวลขนาดดวงอาทิตย์ของเราช่วงที่เป็นดาวยักษ์แดง จะมีคาร์บอนเป็นส่วนประกอบเช่นกัน
 เนื่องจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่แกนกลางที่ผลิตคาร์บอนแล้วส่งต่อถึงพื้นผิว
2.Calendar (แคล เอ็นเดอะ) ปฏิทิน คือวันใน 1ปีที่ถูกแบ่งย่อยออกเป็นเดือนๆ ตามการปรากฏของดวงอาทิตย์
หรือดวงจันทร์ ปฏิทินถูกคิดขึ้น ครั้งแรกโดย ชาวบาบิโลเนียน โดยใช้การปรากฏของดวงจันทร์ซึ่งมี 29.5 วัน เรียกว่า
 "ปฏิทินจันทรคติ" แต่มาถูกปรับปรุงให้มีความแม่นยำขึ้น โดยชาวอียิปต์โบราณ โดยใช้ดวงอาทิตย์เป็นหลัก เรียกว่า "ปฏิทินสุริยะคติ"
3.Cassegrain Telescope (แคส-ซิ-เกรน) เป็นกล้องสะท้อนแสงอีกชนิดหนึ่งที่มีกระจกหลักเป็นแบบพาราโบลิค
 สะท้อนภาพกลับไปยังกระจกบานที่สอง (secondary mirror) ที่เป็นกระจกนูน และสะท้อนผ่านรูตรงกลางกระจกหลัก
 เกิดจุดโฟกัสที่เรียกว่า "Cassegrain Focus"  กล้องแบบ Cassegrain นี้ถูกคิดขึ้นครั้งแรกโดย
นักบวชชาวฝรั่งเศสชื่อ Laurent Cassegrain เมื่อปีคศ.1629-1693  ดูคำว่า Schmidt-Cassegrain Telescope
4.Cassini Division (แคส-ซิ-นี่ ดิวิชั่น)  เป็นช่องว่างระหว่างวงแหวน A และ B ของดาวเสาร์
ถูกค้นพบครั้งแรกโดย นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อ Giovanni Cassini เมื่อปี คศ.1675  แต่ต่อมายานวอยเอเจอร์พบว่า
ไม่ได้เป็นช่องว่างแท้จริง แต่ประกอบด้วยวงแหวนเล็กๆอีกนับร้อยวง
5.Cassini Spacecraft  เป็นยานอวกาศสำรวจดาวเสาร์และบริวารไททัน
เป็นความร่วมมือกันระหว่างองค์การนาซ่า(NASA) กับองค์การอวกาศยุโรป (ESA)
ปล่อยสู่วงโคจรเมื่อเดือนตุลาคม 1997  ยานแคสซินี่จะโคจรรอบดาวเสาร์
และปล่อยหัวสำรวจชื่อ Huygens สำรวจดวงจันทร์ไททัน  และจะเสร็จสิ้นภาระกิจปี คศ.2004
6.Cassiopeia A (แคส-ซ-ิโอ-เปีย- เอ) แหล่งคลื่นวิทยุความเข้มสูงบนท้องฟ้าในกลุ่มดาวแคสซิโอเปีย
เป็นซากหลงเหลือจากการระเบิดของซุปเปอร์โนวา เมื่อราว คศ.1660  แต่ไม่มีการบันทึกการเห็นไว้บนโลก ทิ้งซากไว้เป็นเนบิวล่าจางๆ
 อยู่ห่างจากโลกราว 10,000 ปีแสง 
7.Catadioptric (คา-ทา-ได-อ๊อป-ตริก) เป็นกล้องโทรทรรศน์อีกชนิดหนึ่งที่รวมเอาหลักการของเลนซ์และกระจกไว้ด้วยกัน 
โดยมีเลนซ์รวมแสงอยู่ด้านหน้าที่เรียกว่า Correcting plated มีกระจกนูนติดไว้อีกด้านหนึ่งเพื่อสะท้อนภาพจากกระจกหลัก
ผ่านรูตรงกลางไปท้ายกระจก คล้ายกับกล้อง Cassegrain เพียงแค่มี Correcting plated เพิ่มด้านหน้าเท่านั้น 
กล้องแบบนี้ได้แก่ Schmidt-Cassegrain telescope และ Maksutov Telescope
8.CCD (charge-coupled device) เป็นสารกึ่งตัวนำ (solid-state) ทางอิเลคทรอนิคที่ทำให้เกิดภาพได้  CCD
จะประกอบด้วยขั้วไฟฟ้าขนาดสี่เหลี่ยมเล็กเรียงต่อกันเป็นแผงสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ เมื่อแสงตกกระทบขั้วไฟฟ้าแต่ละขั้วก็จะเปลี่ยน
พลังงานแสงเป็นไฟฟ้า ผ่านขบวนการเพื่อทำให้เกิดเป็นภาพได้ ความละเอียดของภาพขึ้นอยู่กับจำนวนขั้วไฟฟ้านั้นมีหน่วยเป็น
พิกเซล  กล้องวีดิโอทั่วไปจะมี CCD เป็นส่วนประกอบ แต่ปัจจุบันวงการดาราศาสตร์ใช้ CCD เพื่อการถ่ายภาพแทนฟิล์ม
ซึ่งจะทำให้ช่วงเวลาการถ่ายภาพนั้นลดลง 
9.Celestial Equator (ซี-เลส-เชียน- อิ-เคว-เตอร์) เป็นแนวของเส้นศูนย์สูตรโลก ที่ขยายไปปรากฏบน
ทรงกลมท้องฟ้า
เรียกว่า เส้นศูนย์สูตรท้องฟ้า ดังนั้นแนวของเส้นศูนย์สูตรโลก กับ แนวเส้นศูนย์สูตรท้องฟ้า จะเป็นแนวเดียวกัน
10.Celestial Object (ซี-เลส-เชียน ออปเจ็คท์) ใช้เรียกวัตถุที่อยู่บนทรงกลมท้องฟ้า เช่น ดาวฤกษ์
ดาวเคราะห์ ดวงจันทร์
 ดาวหาง และอื่นๆ รวมทั้งดวงอาทิตย์
11.Celestial sphere (ซี-เลส-เชียน-สเฟียร) ทรงกลมสมมุติของท้องฟ้าที่ล้อมรอบโลกเราไว้
โดยมีโลกอยู่ที่จุดศูนย์กลางและมีรัศมีเป็นอนัตต์ หมุนรอบโลกด้วยแกนที่จุดขั้วฟ้าที่เรียกว่า Celestial Pole
โดยมีเส้นศูนย์สูตรท้องฟ้า (celestial equator) ขนานไปกับเส้นศูนย์สูตรโลกด้วย ดูบทความประกอบ
12.Celestial mechanics (ซี-เลส-เชียน-แมค-คา-นิค) สาขาหนึ่งของวิชาดาราศาสตร์
ที่อธิบายถึงการเคลื่อนที่ของวัตถุบนท้องฟ้า โดยใช้กฏ ทางฟิสิกส์ อธิบายแนวการโคจรของดาวเคราะห์ ดาวเทียม และอื่นๆ
13.Centaurus A (เซนทอรัส เอ) หรือกาแลกซี่ NGC5128  เป็นกาแลกซี่แหล่งคลื่นวิทยุที่เข้มข้นมาก
  คาดว่าเกิดจากการชนกันของกาแลกซี่ยักษ์รูปไข่ กับกาแลกซี่เกลียวขนาดเล็ก
 เมื่อมองด้วยกล้องโทรทรรศน์จะเห็นแถบฝุ่นทึบพาดกลางกาแลกซี่สองแถบ Centaurus A อยู่ห่างจากโลก
10 ล้านปีแสง ในกลุ่มดาวม้าครึ่งคน (Centaurus) 
14.Chandrasekar Limit  ค่าจำกัดจันทราสิกขา  เป็นค่าสูงสุดของมวลของดาวแคระขาว (White dwart)
 มีค่าประมาณ 1.4 เท่าของดวงอาทิตย์  ถ้าดาวฤกษ์มีมวลมากกว่าค่านี้ ดาวจะยุบตัวกลายเป็นดาวนิวตรอน และหลุมดำ
  ค่าจำกัดจันทราสิกขาถูกคิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี คศ.1931 โดยนักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ชาวอเมริกันเชื้อสายอินเดีย
และเขาได้ตั้งทฤษฏีเกี่ยวกับวิวัฒนาการของดาวฤกษ์  
15.Chandra X-ray Observatory (CXO) หอสังเกตการณ์จันทราเอ็กซเรย์
 เป็นดาวเทียมของนาซ่า ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อปีคศ.1999 เป็นดาวเทียมสำรวจท้องฟ้า
ช่วงคลื่นรังสีเอ็กซ์ ถูกตั้งชื่อให้เป็นเกียรติกับ Subrahmanyan Chandrasekhar
นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ชาวอเมริกันเชื้อสายอินเดีย
16.Chromosphere (โคร-โมส-เฟียร์) ชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์อยู่ระหว่างชั้น Photoshere กับ Corona
มีความหนาประมาณ 10,000 กิโลเมตร อุณหภูมิ 4,000 ถึง 100,000 เคลวิน
17.Coma (โคม่า) มี 2 ความหมายคือ
1) เป็นความผิดเพี้ยนของภาพที่ตกกระทบบนเลนซ์ มองเห็นวัตถุเป็นฝ้ารีๆ คล้ายกับหัวของดาวหาง สาเหตุเกิดขึ้นจากมุมตกกระทบของภาพ
 กับเลนซ์วัตถุ และจะผิดเพี้ยนมากขึ้นเมื่ออยู่ห่างศูนย์กลาง ของมุมมองของภาพมากขึ้นเช่นกัน
2) เป็นกลุ่มก๊าซหรือฝุ่นละอองที่อยู่รอบๆ แกนกลางของดาวหาง
18.Conjunction (คอน-จัง-ชั่น) หรือตำแหน่งร่วม  ดูเรื่อง Elongation
19.Constellation (คอน-สเตล-เล-ชั่น)  หรือกลุ่มดาวบนท้องฟ้า  เป็นกลุ่มของดาวฤกษ์บนท้องฟ้าที่มนุษย์จิตนาการไว้เป็นรูปร่างต่างๆ
เพื่อง่ายต่อการจดจำ เริ่มใช้ครั้งแรกในยุคสมัยของ Ptolemy  มีอยู่ด้วยกัน 44 กลุ่ม ปัจจุบัน IAU แบ่งกลุ่มดาวบนท้องฟ้าออกเป็น 88 กลุ่ม
 และกำหนดขอบเขตที่แน่นอนเมื่อปี คศ.1930  จากกลุ่มดาวขนาดเล็กสุดคือกลุ่มดาวกางเขนใต้ (Crux) จนถึงกลุ่มดาวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
คือกลุ่มดาวงูไฮดรา (Hydra)
20.Coordinates (โค-ออ-ดิ-เนท) หรือระบบพิกัด  เป็นระบบที่ใช้สำหรับอ้างอิงตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้า ในทางดาราศาสตร์นิยม
ใช้กันอยู่สองแบบคือ
 1.ระบบขอบฟ้า (The Horizontal system) หรือ บางทีเรียกว่าระบบอัลติจูดและอะซิมุท (Altitude and Azimuth system)
       อัลติจูด (Altitude) หรือ มุมเงย เป็นมุมที่วัดจากเส้นขอบฟ้า คือ 0 องศา ขี้นไปจนถึงจุดเหนือศีรษะ Zenith คือ 90 องศา
       อะซิมุท (Azimuth) เป็นทิศทางตามแนวเส้นขอบฟ้า Horizontal Line เริ่มต้นจากทิศเหนือ 0 องศา ไปตามแนวทิศ ตะวันออก
ทิศใต้ ทิศตะวันตก กลับมาที่ทิศเหนือ ครบรอบ 360 องศา
        การบอกตำแหน่งด้วยวิธีนี้ จะบอกเป็นค่ามุมเงย และ มุมอะซิมุท พร้อมกัน มีหน่วยเป็นองศา และการบอกตำแหน่งระบบนี้
จะใช้ได้กับผู้สังเกตุที่อยู่บนเส้นละติจูดเดียวกัน ในเวลาเดียวกัน ( ลองจิจูดเดียวกัน)  เท่านั้น เช่นขณะนี้ดาวหางอยู่ที่ตำแหน่ง
มุมอัลติจูด 45 องศา มุมอะซิมุท 270 องศา เป็นต้น
2. ระบบศูนย์สูตร (Equatorial System) เป็นระบบที่จำลองมาจากการบอกตำแหน่งบนพื้นโลกด้วยเส้น ละติจูด และ ลองจิจูด 
โดยที่บนท้องฟ้าเราจะบอกตำแหน่งเป็นค่า เดคลิเนชั่น (Declination- Dec) และ ไรท์แอสเซนชั่น (Right Ascension- R.A)    
   เดคลิเนชั่น (Declination- Dec) เปรียบได้กับละติจูด มีหน่วยเป็นองศา ใช้บอกระยะเชิงมุมของดาวว่าอยู่ห่างจาก เส้นศูนย์สูตรฟ้า ( 0 องศา) 
ไปทางทิศเหนือ ระหว่าง 0 ถึง +90 องศา หรือ ไปทางทิศใต้ ระหว่าง 0 ถึง –90 องศา เป็นมุมเท่าใด
   ไรท์แอสเซนชั่น (Right Ascension- R.A) เปรียบได้กับ ลองจิจูด ที่บอกหน่วยเป็น เวลา ชั่วโมง:นาที:วินาที 
โดยที่ 360 องศามีค่าเท่ากับ 24 ชั่วโมง หรือ 15 องศา มีค่าเท่ากับ 1 ชั่วโมง ในทำนองเดียวกันกับเส้นลองจิจูด 
จุดเริ่มต้น 0 องศาหรือ 0 ชั่วโมง อยู่ที่เมืองกรีนิช ในประเทศอังกฤษ สำหรับ R.A ค่า 0 องศาหรือ 0 ชั่วโมงจะเริ่มที่จุดอ้างอิง
 Vernal Equinox (เวอร์นัล อิควินอค) คือจุดที่แนวเส้นEcliptic ตัดกับเส้นศูนย์สูตรฟ้า พอดี ในวันที่ 21 มีนาคม 
ซึ่งเป็นวันที่กลางวันกับกลางคืนยาวเท่ากัน ตรงตำแหน่งกลุ่มดาวปลา (PISCES) แล้วนับไปทางขวามือ (Right) เป็นชั่วโมง 
นาที วินาที หรือถ้าเราหันหน้า เข้าหาทิศเหนือให้นับไปทางทิศตะวันออก แต่เนื่องจากกลุ่มดาวปลา ไม่ค่อยสว่างบนท้องฟ้าจึงสังเกตลำบาก 
เราอาจจะให้กลุ่มดาวค้างคาวหาตำแหน่งที่ RA เท่ากับศูนย์ได้เช่นกัน 
21.corona (โคโลน่า) คือบรรยากาศชั้นนอกสุดของดวงอาทิตย์ มีความหนาแน่นต่ำแต่มีอุณหภูมิสูงมาก
ราว 1 ล้านเคลวิน(Kelvin) และแผ่ขยายกว้างไป ในอวกาศได้ไกลเป็นล้านๆ กิโลเมตร
เราสามารถเห็นบรรยากาศชั้นโคโลน่าได้ ตอนเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง
22.COsmic Background Explorer (COBE) หรือ โคบี เป็นดาวเทียมของนาซ่าที่ส่ง
ขึ้นไปเพื่อทำการศึกษา Comic Microwave Background  ถูกส่งขึ้นไปตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 1989
 และสิ้นสุดปฏิบัติการตั้งแต่ปี คศ.1993 
23.Cosmic Microwave Background  หรือรังสีคอสมิคพื้นหลัง  เป็นการแพ่รังสีของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเอกภพ
ซึ่งแพ่ออกมาทุกทิศทุกทางในอวกาศมีอุณหภูมิราว 2.73 เคลวิน เชื่อว่าเป็นคลื่นพลังงานที่หลงเหลือมาจาก
ความร้อนของเอกภพหลังการเกิด BigBang  ถูกพบครั้งแรกเมื่อปี คศ.1965 โดย Arno Penzias กับ Robert Wilson
จาก Bell Telephone Laboratories การค้นพบในช่วงนั้นมีความยาวคลื่นสั้นมากเป็นไมโครเวฟ
 ปัจจุบันความยาวคลื่นเพิ่มขึ้นเป็นมิลลิเมตรจากผลของเอกภพขยายตัว แต่ยังคงเรียกว่าเป็นคลื่นไมโครเวฟอยู่
24.Cosmic ray (คอส-มิค-เรย์) เป็นนิวเคลียส์ของอะตอมซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโปรตอน
มีพลังงานสูงที่เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ของดาวฤกษ์ แพร่กระจายไปทั่วจักรวาล แต่จะถูกดูซับไว้ด้วยชั้นบรรยากาศของโลก
ซึ่งเห็นได้จากการแตกตัวของอิออนในชั้นบรรยากาศสูงๆ อย่างสตาร์โตสเฟียร์
25.Cosmology (คอส-โม-โล-จี้) วิชาที่ว่าด้วยการศึกษาโครงสร้างของเอกภพ 
26.Cygnus A แหล่งคลื่นวิทยุความเข้มสูง อยู่นอกกาแลกซี่ทางช้างเผือก บริเวณกลุ่มดาวหงส์
 คิดว่าเกิดจากการชนกันของสองกาแลกซี่
27.Cygnus X-1  แหล่งคลื่นรังสีเอ็กซ์เข้มข้นอยู่ในกลุ่มดาวหงส์ (Cygnus) เชื่อว่ามีหลุมดำอยู่ที่นั่น
28.Julian Day (จูเลียน เดย์) เป็นระบบจำนวนวันแบบต่อเนื่องไม่มีการแบ่งเป็นเดือนหรือปี มักใช้ใน
ทางดาราศาสตร์คำนวนเหตุการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นบนท้องฟ้า โดยวันที่ 1 January 4713 BC.
เวลาเที่ยงวันตามเวลา GMT จะหมายถึงวันที่ 0 ของ julian day  แนวคิดนี้ ได้มาจาก นักประดิษฐปฏิทินชาวฝรั่งเศส
ชื่อ Joseph Justus Scaliger เมื่อปี คศ.1582 โดยวันที่ 1 มกราคม 1995 เวลา 18.00 น.  มีค่าเท่ากับ 2,449,719.25
29.Oort clound (อ๊อต-คราว) เป็นแหล่งกำเนิดของดาวหาง หรือ ดงดาวหาง มีลักษณะเป็นทรงกลมล้อมรอบระบบสุริยะ
ของเราอยู่ โดยอยู่ห่างจาก ดวงอาทิตย์ 6,000 Au. หรือครึ่งทางจากดาวฤกษ์ดวงใกล้สุด ซึ่งแนวความคิดนี้เป็นของ 
Ernst Opik ในปี 1932 และได้ถูกเปิดเผยครั้งแรกโดยJan Oort ในปี 1950
30.Occultation (อ็อค-คัล-เท-ชั่น) คือการบังกันของวัตถุบนท้องฟ้า เช่นดาวเคราะห์บังแสงจากดาวฤกษ์ที่อยู่ไกลๆ
หรือ การที่ดวงจันทร์บังแสง จากดาวฤกษ์หรือดาวเคราะห์ ที่อยู่ห่างไกลออกไป
31.Satellite (เซท-เทล-ไลท์) หมายถึง วัตถุที่โคจรไปรอบๆ วัตถุอีกชิ้นหนึ่งที่ใหญ่กว่า ตัวอย่างเช่น ดาวเทียมหรือ
ดวงจันทร์ที่โคจรรอบโลกของเรา ก็เรียกว่า satellite แต่ดวงจันทร์จะมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Moon (สะกดด้วย M ตัวใหญ่)
หรือโลกเป็นบริวาร (satellite) ของดวงอาทิตย์ หรือดาวบริวารที่เป็นดวงจันทร์ (moon สะกดด้วย m ตัวเล็ก)
ของดาวเคราะห์อื่นเช่น ดาวพฤหัส หรือ ดาวเสาร์
32.Solar flares (โซ-ล่า-ฟแล) หมายถึง แรงระเบิดอย่างรุนแรงของก๊าซที่อยู่ผิวชั้นนอกของดวงอาทิตย์
33.Solar day ดูที่คำว่า Day
34.Solar Eclipse (โซล่า-อิคลิปส์) เป็นปรากการณ์ที่ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์ มักเกิดขึ้นช่วงขึ้น 1 ค่ำ หรือ แรม 15 ค่ำ
เป็นช่วงที่ดวงจันทร์ อยู่ระหว่างโลกและดวงอาทิตย์พอดี
35.Solar Longitude (โซ-ล่า-ลอง-กิ-จูด) เป็นระยะห่างเชิงมุมที่กำหนดโดยตำแหน่งของโลกบนวงโคจรรอบดวงอาทิตย์
 หรืออีกนัยหนึ่งคือ ตำแหน่งเส้นลองกิจูดทางภูมิศาสตร์บนดวงอาทิตย์นั่นเอง
36.Solstice (โซล-สะติส) ตำแหน่งของดวงอาทิตย์บน ทรงกลมท้องฟ้า ที่เคลื่อนมาอยู่สูงสุดบนท้องฟ้า มีอยู่ 2 ตำแหน่งคือ
        1.Summer Solstice หรือ ครีษมายัน ตรงกับวันที่ 21 มิถุนายน ดวงอาทิตย์จะอยู่สูงเลย เส้นศูนย์สูตรฟ้า
ไปทางทิศเหนือมากที่สุด (ดวงอาทิตย์อยู่สุดบนท้องฟ้า) ซึ่งเป็น วันที่กลางวัน ยาวนานที่สุดทางซีกโลกเหนือ ตรงกับฤดูร้อน
        2.Winter Solstice หรือ เหมายัน ตรงกับ วันที่ 22 ธันวาคม ดวงอาทิตย์จะอยู่ต่ำกว่า เส้นศูนย์สูตรฟ้าไป
ทางทิศใต้มากที่สุด (ดวงอาทิตย์อยู่ต่ำสุดบนท้องฟ้า) ซึ่งเป็นวันที่กลางวันสั้นที่สุด ทางซีกโลกเหนือ ตรงกับฤดูหนาว
 ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นจาก แกนเอียงของโลก 23.5 องศา กับแนวที่ตั้งฉากกับระนาบอิคลิปติค
37.Speed of light ความเร็วแสง ทางวิทยาศาสตร์ใช้สัญญาลักษณ์ C เป็นความเร็วของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ที่แพร่ในสูญญากาศ มีค่าเท่ากับ 299,792,458 เมตรต่อวินาที (186,000 ไมล์ต่อวินาที) ทฤษฎีสัมพัทธ์ภาพของ
ไอน์สไตด์กล่าวว่า ไม่มีอะไรที่จะเดินทางได้เร็วกว่าความเร็ว
38.Singularity (ซิงกูลาลิตี้) คือจุดซึ่งทำให้ กฏต่างๆ ทางฟิสิกส์ที่เรารู้จักกันใช้การไม่ได้ ตัวอย่างเช่น
        singularity ที่ศูนย์กลางของ หลุมดำ (Black hole) เป็นจุดที่มวลสารอัดแน่นจนมีขนาดเล็กเป็นอนันต์ (infinite)
และมีความหนาแน่นสูงมาก จนมีค่าอนันต์เช่นกัน ในทฤษฏี Big Bang ก็เช่นกัน เอกภพเกิดจาก singularity
ของความหนาแน่นและอุณหภูมิที่มีค่าอนันต์
39.Sidereal (ไซ-ดี-เรียล) มีความหมายเกี่ยวข้องกับดาวฤกษ์ หรือ การใช้ดาวฤกษ์เป็นเกณฑ์ในการเปรียบเทียบ
หรืออ้างอิง มีคำที่ใช้ประกอบกับคำว่า sidereal มากมายในทางดาราศาสตร์ เช่น
        sidereal time เป็นช่วงเวลาที่ใช้ในการคำนวนโดยอิงคาบการหมุนรอบตัวเองของโลกเกี่ยวข้องกับดาวฤกษ์
ซึ่งเวลาที่ 0h อยู่ตำแหน่งที่จุด vernal equinox ผ่านจุด meridian ของผู้สังเกตุ ซึ่ง sidereal time
มีค่าเท่ากับค่า right ascention ของวัตถุที่ตำแหน่งที่ตำแหน่ง meridian ของผู้สังเกตุนั่นเอง
        sidereal day เป็นช่วงของวันที่โลกหมุนรอบตัวเองครบ 1 รอบโดยอ้างอิงกับดาวฤกษ์ให้ผ่านไป
แล้วกลับมาอยู่ที่ตำแหน่งเดิม หรือกำหนดให้จุด vernal equinox ผ่านจุด meridian ของผู้สังเกตุ
ซึ่งตรงกับวันที่ 21 มีนาคม เป็นวันที่ช่วงเวลากลางวันเท่ากับกลางคืน มีค่าเท่ากับ 23 ชั่วโมง 56 นาที 4.091
วินาที แล้วแบ่งออกเป็น 24 sidereal hours
        sidereal month เป็นคาบการโคจรของดวงจันทร์รอบโลกครบ 1 รอบโดยใช้ดาวฤกษ์เป็นจุดอ้างอิง
มีค่าเท่ากับ 27.32166 วัน ( sidereal day)
        sidereal year เป็นช่วงเวลาที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบ 1 รอบโดยใช้ดาวฤกษ์เป็นจุดอ้างอิง
มีค่าเท่ากับ 365.25636 วัน ( sidereal day)
        sidereal period เป็นคาบการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์หรือบริวารรอบดาวเคราะห์ครบ 1 รอบโดย
ใช้ดาวฤกษ์เป็นจุดอ้างอิง ซึ่งเป็นค่าจริงเมื่อเทียบกับค่า synodic period
40.Ultraviolet (อัล-ตร้า-ไฝ-โอะ-เล็ท) เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีช่วงคลื่นสั้นกว่าแสงสีม่วง
 แต่ไม่ถึงช่วงรังสีเอ็กซ์ คือมีความยาวคลื่นตั้งแต่ 350-90 นาโนเมตร เป็นรังสีที่มีอนุภาคค่อนข้างรุนแรง
 บรรยากาศของโลกเราได้ดูดซับรังสีนี้ไว้บางส่วนไม่ให้มาถึงพื้นโลก เราจึงค่อนข้างปลอดภัยจากรังสีนี้จาก
ดวงอาทิตย์ การศึกษารังสี Ultraviolet จะทำกันในอวกาศโดยส่งดาวเทียมขึ้นไปโคจรรอบโลก ซึ่งดาวเทีย
มดวงแรกที่ส่งขึ้นไปศึกษารังสี Ultraviolet ของดวงอาทิตย์และดาวฤกษ์ต่างๆ คือ Orbiting Solar Observatory
 เมื่อปี คศ.1960  ปัจจุบันมีดาวเทียมอีกหลายดวงเช่น International Ultraviolet Explorer (IUE) ปี 
คศ.1978 กับ Extreme Ultraviolet Explorer (EUVE) ปี คศ.1992


41.umbra
 (อัม-บละ) ใช้เรียกบริเวณศูนย์กลางของจุดดับบนดวงอาทิตย์ ที่มีสีเข้มที่สุด
หรือ เรียกบริเวณเงามืด ของปรากฏการณ์จันทรุปราคา ด้วยเช่นกัน คู่กับคำว่า penumbra 
42.white dwarf  (ไว้ท-ดวอฟ) ดาวแคระขาว เป็นดาวฤกษ์ที่ขนาดเท่ากับดวงอาทิตย์ของเรา
ที่หมดพลังงานนิวเคลียร์ที่แกนกลางแล้ว หลังจากที่ขยายตัวเป็นดาวยักษ์แดง (Red Giant)
แล้วก็จะเริ่มค่อยๆหดตัวเล็กๆ จนมีขนาดราว 1 ใน 100 ของดวงอาทิตย์หรือเท่ากับโลกของเรา
ด้วยมวลที่เท่ากับดวงอาทิตย์และมีขนาดเท่าโลก ทำให้ความหนาแน่น ของดาวแคระขาวสูงมาก
คือประมาณ 1 ล้านเท่าของความหนาแน่นของน้ำ
43X-ray (เอ็กซ-เรย์) คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีช่วงความยาวคลื่นสั้นมาก สั้นกว่ารังสีอุลต้าไวโอเรต
 แต่ยาวกว่ารังสีคอสมิค บนโลกเราสร้างรังสีเอ็กซ์ เพื่อใช้วงการแพทย์ แต่ในอวกาศรังสีเอ็กซ์จะเกิดขึ้นจากมวลสาร
ที่มีพลังงานสูงกำลังเคลื่อนที่เข้าไปในหลุมดำ (Black hole) แล้วคายพลังงาน ในรูปรังสีเอ็กซ์ออกมา
 แต่รังสีเอ็กซ์ในอวกาศจะถูกดูดกลืนด้วยชั้นบรรยากาศของโลก ทำให้อุปกรณ์ที่จะใช้ตรวจจับแหล่งรังสีเอ็กซ์ต้องอยู่
ในอวกาศ ตัวอย่างเช่น ดาวเทียมจันทราเอ็กซ์เรย์ (CXO) อยู่สูงจากพื้นโลก 81,000 ไมล์ อยู่สูงกว่าตำแหน่งดาวเทียม GPS หลายเท่า
44Year (เยียร์) เป็นเวลาที่โลกใช้โคจรรอบดวงอาทิตย์ครบ 1 รอบ ซึ่งมีแตกต่างกันตามการใช้จุดอ้างอิง
    Anomalistic Year   สัมพันธ์กับตำแหน่ง perihelion (ตำแหน่งใกล้ดวงอาทิตย์) เท่ากับ  365.25964 
วัน มากกว่า Sidereal Year  4 นาที 43.5 วินาที
    Eclipse Year  เป็นช่วงระหว่างที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนผ่านจุดโหนดเดิมของวงโคจรของดวงจันทร์ มีค่าเพียง 
346.62003 วัน  มีค่าที่แตกต่างจากค่าที่สุด เนื่องจาก โหนดของดวงจันทร์เคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันตกปีละ 19 องศา
 ทำให้ดวงอาทิตย์ซ้ำจุดโหนดเดิมเร็วกว่าปกติ
    Sidereal Year  หมายถึงโลกโคจร 1 รอบดวงอาทิตย์โดยใช้ดาวฤกษ์บนท้องฟ้าเป็นจุดอ้างอิง มีค่าเท่ากับ 
365.25636 วัน ปกติเราจะหมายถึง ปีในความหมาย Sidereal Year มากกว่า
    Tropical Year   หมายถึง 1 รอบของดวงอาทิตย์โดยอ้างอิงกับจุด vernal equinox  มีค่าเท่ากับ 365.24219 วัน 
 เนื่องจากการส่ายของแกนโลกทำให้จุด Vernal Equinox  เคลื่อนไปตามแนวเส้นอิคลิปติดด้วย 
ทำให้ระยะเวลาสั้นกว่า Sidereal Year  20 นาที
45.Yohkoh   ดาวเทียมสำรวจดวงอาทิตย์ด้วยความร่วมมือระหว่าง  ญี่ปุ่น อังกฤษ และอเมริกา
ส่งขึ้นไปตั้งแต่ปี คศ.1991
46.Zenith (ซี-นิธ)  คือจุดที่อยู่กลางศีรษะของผู้สังเกต บนทรงกลมท้องฟ้า (Celestial sphere) 
คนไทยเรียก "จุดจอมฟ้า หรือ จุดยอดฟ้า" ส่วนจุดที่อยุ่ตรงข้ามกับจุด Zenith เรียกว่า จุด nadir  ดูบทความประกอบ
47.Zenithal Hourly Rate (ZHR) (ซี-นิท-เทอะ เอาว-รี เรท) เป็นอัตราการเกิดฝนดาวตกที่สังเกตได้
จากผู้สังเกตเมื่อท้องฟ้ามืดสนิท โดยที่ตำแหน่ง radiant อยู่ที่จุดเหนือศีรษะพอดี
48.Zodiac (โซ-เดียด) จักรราศี เป็นกลุ่มดาวตามแนวเส้นอิคลิปติคกว้างราว 8 องศา ซึ่งจะเป็นฉากด้านหลัง
ของแนวการเคลื่อนที่ของ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ ยกเว้นดาวพลูโต  โดยจักรราศีจะประกอบด้วย 
12 สัญลักษณ์ ตามชื่อจากกรีกโบราณ คือ Aries, Taurus, Gemini, Cancer,Leo,Virgo,Libra,Scorpio,Sagittarius,Capricorn,Aquarius และ Pisces ส่วน Ophiuchus
 เป็นอีกกลุ่มดาวหนึ่ง ที่อยู่ในแนวเส้นอิคลิปติด แต่ไม่รวมอยู่ในจักรราศี 
            การกำหนดช่วงจักราศีจะใช้ช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนที่เข้ามาอยู่ในกลุ่มดาวดังกล่าว เช่นราศีเมษ Aries
 ดวงอาทิตย์จะมาอยู่ในกลุ่มดาว Aries ระหว่างวันที่ 28 เมษายน ถึง 27 พฤษภาคม สาเหตุที่ช่วงเวลาไม่ตรงกับชื่อ
จักราศีเนื่องจากการส่ายของแกนโลกทำให้ช่วงเวลาเคลื่อนไป ดูบทความประกอบ
49.Zodiacal Light (โซ-ดี-คัล-ไลท์) แสงจักราศี เป็นแสงเรืองจางๆ ปกติจะน้อยกว่าความสว่างของทางช้างเผือก
 เกิดขึ้นจากอนุภาค ของฝุ่นละอองที่เรียกว่า zodiacal dust clond บางทีก็เป็นอนุภาคที่ดวงอาทิตย์ดีดออกมา 
หรือ ฝุ่นจากดาวหางและดาวเคราะห์น้อย กระทบกับแสง จากดวงอาทิตย์ จะปรากฏอยู่ในแนวระนาบของอิคลิปติด 
เราสามารถเห็น zodiacal light ได้จากท้องฟ้าที่มืดสนิทไม่มีแสงจันทร์ และมลภาวะ ทางแสงจากขอบฟ้ารบกวน 
ทางด้านทิศตะวันตกหลังอาทิตย์ลับขอบฟ้า และ ด้านทิศตะวันออกก่อนอาทิตย์
50.Fire ball (ไฟล์-บอล) เป็นคำจำกัดความเรียกดาวตกที่มีความสว่างมากๆ ซึ่งกำหนดไว้ว่าต้องมี
ความสว่างมากกว่าดาวเคราะห์ ซึ่งในปัจจุบัน ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่ สว่างที่สุด ดังนั้น 
ดาวตกที่มีความสว่างมากกว่า -4.7 ก็จะถูกจัดอยู่ในกลุ่ม ของ fire ball ด้วย ซึ่งฝนดาวตกเจมินิค ในเดือนธันวาคม 
จะปรากฏ fire ball มากกว่าอันอื่นๆ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น